แมวก็เหมือนกับพวกเราที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางตัวเป็นชอบซุกซนแบบมีพลังเหลือเฟือ ไม่อยู่นิ่ง ในขณะที่บางตัวชอบความสงบ สบายใจที่จะใช้เวลาทั้งเพื่อวันผ่อนคลายในมุมโปรด พอเริ่มโตขึ้นพลังของน้องแมวก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง – แต่ก็อาจจะมีข้อยกเว้น เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อายุมากมักจะชอบพูดว่า "เดี๋ยวนี้น้องแมวของฉันแค่ขี้เกียจ" หรือ "ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเมื่อก่อน" "ความขี้เกียจ" นี้มักถูกมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเป็นความจริงที่ว่าสุนัข แมว และมนุษย์ ก็ล้วนมีแนวโน้มที่จะมีความเคลื่อนไหวลดลงเมื่ออายุมากขึ้น! อย่างไรก็ตาม การที่น้องแมวของคุณเริ่มเคลื่อนไหวช้าลงอาจไม่ได้เกิดจากอายุที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คุณรู้จักอาการของความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบ (ข้อเสื่อม) ในแมวหรือไม่?
มีตัวเลือกมากมายที่ช่วยในการจัดการกับความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในแมว ทั้งการใช้ยา อาหารเสริม การควบคุมน้ำหนัก การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การนวด และกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษาสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดแผนการดูแลเฉพาะสำหรับน้องแมวของคุณ สัตวแพทย์มักจะจ่ายยาแก้ปวดให้กับแมว ซึ่งการใช้ยาแก้ปวดสามารถช่วยให้น้องแมวที่เป็นโรคข้ออักเสบสามารถทำกายภาพบำบัดได้สบายขึ้นและเคลื่อนไหวดีขึ้น ยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในแมวที่พบได้บ่อย เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพแต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ โดยเฉพาะในแมวที่อายุมากที่อาจมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง แต่การป้อนยาน้องแมวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ปัจจุบันนี้จึงมีทางเลือกอื่นๆ ในการรักษาแมวที่เป็นโรคข้อเสื่อมที่สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อช่วยให้น้องแมวที่เป็นโรคข้อเสื่อมรู้สึกสบายตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้องแมวที่ป่วยเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งเรามีแบบประเมินอาการของน้องแมวเพื่อช่วยคุณประเมินว่าน้องแมวของคุณมีอาการที่บ่งชี้ถึงความเจ็บปวดหรือไม่ แม้ว่าคุณจะคิดว่าน้องแมวของคุณอาจจะแค่เคลื่อนไหวลดลงเพราะอายุมากขึ้น แต่การพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรที่ซ่อนอยู่และต้องได้รับการดูแล โดยน้องแมวมักเก่งในการซ่อนความเจ็บปวดหรือไม่สบาย ดังนั้น การตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้สามารถรับรู้อาการและรักษาโรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อแมวอายุมากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจว่าน้องแมวของคุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
น้องแมวที่รู้สึกเจ็บปวดมักจะซ่อนตัว ไม่ค่อยเข้าสังคม และใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนหรือพักผ่อน บางครั้งน้องแมวอาจแสดงความหงุดหงิดเมื่อถูกทำให้ตื่นหรือถูกจับ เหมือนไม่ต้องการให้ใครมาจับตัว ซึ่งคุณอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสีหน้า เช่น หูแนบไปกับหัว หรือหนวดหุบไปด้านหลัง หรืออาจพบว่าน้องแมวสนใจอาหารลดลง แต่ยังคงพอกินได้บ้าง นอกจากนี้ อาการของความเจ็บปวดอื่นๆ ที่เจ้าของมักเข้าใจว่าเป็นเพราะ “อายุมาก” ได้แก่ การไม่กระโดดขึ้นไปบนที่สูงเหมือนเดิม หรือจำเป็นต้องยื่นเท้าลงไปครึ่งทางก่อนกระโดด หรือมีปัญหาในการขึ้นหรือลงบันได บางครั้งอาจเคลื่อนไหวในลักษณะตลก เช่น กระโดดสองขาคล้ายกระต่าย หรืออาจลับเล็บหรือดูแลขนน้อยลง หรืออาจมีอาการบางอย่างที่บ่งบอกว่าความเจ็บปวดนั้นเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การที่น้องแมวเข้า-ออกกระบะทรายได้ลำบาก (ซึ่งมักนำไปสู่อุบัติเหตุในบ้าน) ขนพันกันหรือเป็นกระจุกเนื่องจากการดูแลขนลดลงหรือไม่ดูแลเลย และเล็บที่ยาวเกินเพราะไม่ได้ลับเล็บตามปกติ

โรคข้ออักเสบ (ข้อเสื่อม) ในแมว
โรคข้อเสื่อมในแมว (Feline Osteoarthritis หรือ OA) เป็นโรคเกิดกับข้อต่อ โดยอาการมักจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปและทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งโรคนี้มักพบในแมวที่อายุมากและมักพบตอนที่อาการรุนแรงและอยู่ในระยะท้ายๆ ไปแล้ว โรคนี้มักจะถูกมองข้ามในแมวที่มีอายุช่วงวัยกลาง โรคข้ออักเสบจึงไม่ได้เกิดเฉพาะกับแมวที่มีอายุมากเท่านั้น เพราะมีแนวโน้มที่พบในแมวที่มีอายุเพียง 2 ปีเพิ่มมากขึ้น การตระหนักถึงโรคข้ออักเสบในน้องแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของน้องแมว โดยน้องแมวที่เป็นโรคข้ออักเสบส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่แมวบางตัวอาจแสดงอาการอย่างชัดเจน ในขณะที่บางตัวอาจแสดงอาการเพียงแค่ "เคลื่อนไหวช้าลง" มีการศึกษาที่ระบุถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ของความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในแมว นอกจากเรื่องของการเคลื่อนไหวแล้ว ยังอาจกระทบต่อการนอนหลับ อารมณ์ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเจ้าของหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นอีกด้วย
วิธีจัดการกับโรคข้ออักเสบ (ข้อเสื่อม) ในแมว
น้องแมวที่รู้สึกเจ็บปวดมักจะซ่อนตัว ไม่ค่อยเข้าสังคม และใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนหรือพักผ่อน บางครั้งน้องแมวอาจแสดงความหงุดหงิดเมื่อถูกทำให้ตื่นหรือถูกจับ เหมือนไม่ต้องการให้ใครมาจับตัว ซึ่งคุณอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสีหน้า เช่น หูแนบไปกับหัว หรือหนวดหุบไปด้านหลัง หรืออาจพบว่าน้องแมวสนใจอาหารลดลง แต่ยังคงพอกินได้บ้าง นอกจากนี้ อาการของความเจ็บปวดอื่นๆ ที่เจ้าของมักเข้าใจว่าเป็นเพราะ “อายุมาก” ได้แก่ การไม่กระโดดขึ้นไปบนที่สูงเหมือนเดิม หรือจำเป็นต้องยื่นเท้าลงไปครึ่งทางก่อนกระโดด หรือมีปัญหาในการขึ้นหรือลงบันได บางครั้งอาจเคลื่อนไหวในลักษณะตลก เช่น กระโดดสองขาคล้ายกระต่าย หรืออาจลับเล็บหรือดูแลขนน้อยลง หรืออาจมีอาการบางอย่างที่บ่งบอกว่าความเจ็บปวดนั้นเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การที่น้องแมวเข้า-ออกกระบะทรายได้ลำบาก (ซึ่งมักนำไปสู่อุบัติเหตุในบ้าน) ขนพันกันหรือเป็นกระจุกเนื่องจากการดูแลขนลดลงหรือไม่ดูแลเลย และเล็บที่ยาวเกินเพราะไม่ได้ลับเล็บตามปกติ